ยังไม่ได้เช็คอิน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 12%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
ครอบครัวไหนที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ การแบ่งโซนแต่ละครอบครัวถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะคนแต่ละวัยจะมีความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกัน ยิ่งถ้ามีวัยที่แตกต่างกันมาก การทำความเข้าใจในแต่ละวัยควรเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจจะเกิดข้อขัดแย้งกันทั้งทัศนคติ และการดำเนินชีวิต อีกทั้งไลฟสไตล์ที่ไม่เหมือนกันก็อาจเป็นอุปสรรคและสร้างความขัดแย้งได้ เช่น ผู้ใหญ่และผู้สูงวัยจะชอบดูโทรทัศน์เป็นหลัก แต่วัยทำงานและวัยรุ่น วัยเด็ก จะเน้นไปที่การดูสื่อออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รายการออนไลน์ทางยูทูป หรือเฟสบุค
นอกจากนี้ หากครอบครัวที่มีผู้สูงวัยที่มีอาการป่วย หรือ ต้องได้รับการดูแลอย่างดี เนื่องมาจากโรคประจำตัว หรือเพราะมีอายุที่มาก การมีผู้ดูแลมืออาชีพเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีและสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกกับการจ่ายค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ยังมีอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้สำหรับผู้สูงวัยด้วย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบกางเกงที่สะดวกสบายในการใช้และการทิ้งทำลาย ส่วนเรื่องอาหารการกิน เราก็ต้องแยก เพราะความต้องการและสารอาหารของสมาชิกในครอบครัวแต่ละวัยต้องการไม่เหมือนกัน บทความของเว็บไซต์ mylucknursinghome ได้แชร์ไว้ว่า ลดปริมาณแป้งและไขมัน ทานให้เหมาะสม เมื่ออายุมากขึ้น ระบบการเผาผลาญย่อมลดลง การทำงานของระบบย่อยอาหารเสื่อมประสิทธิภาพลง ผู้สูงอายุควรลดการกินแป้ง อาหารฟาสฟู๊ต อาหารที่มีไขมันมาก ให้พลังงานมากเกินไป เพราะอาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง และน้ำหนักเพิ่ม ซึ่งมีปัญหามากมายตามมาแน่นอน เน้นผัก ผลไม้ที่หวานน้อย เพิ่มไฟเบอร์ ผู้สูงอายุควรเพิ่มการรับประทานอาหารประเภทที่มีกากใยสูงในทุกมื้อ ช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายให้สมดุล และยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ง่าย ตัวอย่างอาหารที่พบกากใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวโอ๊ต ถั่วชนิดต่าง ๆ การเลือกทานผลไม้ ควรเลือกทานผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการทาน ผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย มะม่วงน้ำดอกไม้ ไม่กินรสจัด ลดโซเดียม ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ควรได้รับโซเดียมในปริมาณเพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็น ⅔ ช้อนชา ซึ่งโซเดียมได้มาจากการรับประทาน เกลือ ซึ่งเกลือถูกใส่อยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงแล้ว อีกทั้งโซเดียมมักจะอยู่ในอาหารที่มีรสเค็ม อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งถ้าหากผู้สูงอายุได้รับประทานโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำประมาณ 1 ลิตร (6-8แก้ว) ต่อวัน สามารถปรับได้ตามความต้องการของร่างกาย โดยดูจากปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อนๆ เกือบขาว แสดงว่าน้ำในร่างกายเพียงพอแล้ว หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการทานน้ำอัดลม ชา กาแฟ เพราะอาจทำให้ท้องผูก และน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง
|
|