ดู: 452|ตอบกลับ: 1

ภาวะมีบุตรยาก ภาวะความผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 77%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย zeenine เมื่อ 2022-9-9 11:02

ในปัจจุบันชีวิตแต่งงานสำหรับคนสมัยใหม่ มีนิยามที่เปลี่ยนไป การแต่งงานไม่จำเป็นที่จะต้องมีลูก แต่ก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่อยากมีลูกเป็นของตัวเอง แต่ไม่สามารถมีได้ ซึ่งอุปสรรคใหญ่เลย ก็คือ ภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติ จนไม่สามารถทำการตั้งครรภ์ได้ตามปกติ หรือเรียกว่าภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยากสามารถพบได้ทั้งชาย และหญิง และปัจจัยที่ทำให้เป็นภาวะมีบุตรยาก จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นภาวะมีบุตรยากเป็นสิ่งที่ควรหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุด เพราะหากยิ่งปล่อยให้นานวัน โอกาสสำหรับคนที่อยากมีลูกก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เราจะมาหาคำตอบกันว่า ภาะวะบุตยาก คืออะไร และสามารถรักษา หรือแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

asyAtv.png




ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร ?
ภาวะมีลูกยา่ก (Infertility) คือภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ตาม
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีลูกยากนั้น ก็มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ซึ่งจากการประเมิเบื้องต้นของเเพทย์ ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี และคู่ที่มีเพศสัมพันธ์มาแล้วมากกว่า 1 ปี แต่ยังไม่มีสัญญาณของการปฏิสนธิ แพทย์จะวินิจัยว่าเป็นผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก

asyu5Q.png

ภาวะมีบุตรยากถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปไหม ?
ภาวะมีบุตรยากนั้นเป็นปัญหาที่สามารถพบได้ทั่วไป ในประเทศไทยมีข้อมูลตัวเลขระบุว่า มีผู้ที่ประสบปัญหาการมีลูกยาก สูงถึง 12 ล้านคน ด้วยตัวเลขที่สูงขนาดนี้จึงพูดได้ว่า ภาวะมีบุตรยากนั้นสามารถพบได้ทั่วไป แต่การรักษานั้นสามารถทำได้ เพื่อให้สามารถหาวิธีการรักษาได้่ตรงจุด เราต้องการก่อนว่าสาเหตุภาวะมีบุตรยากของเรานั้น คืออะไร



สาเหตุภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร
จากที่กล่าวไว้ข้างต้น สาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นเกิดได้หลายปัจจัย มีทั้งจากเพศชาย และเพศหญิง ซึ่งเราจะสามารถรู้สาเหตุภาวะมีบุตรยากของเราผ่านจากการตรวจประเมินของเเพทย์ ซึ่งสาเหตุการมีลูกยากของทั้งชาย และหญิง จะมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

ปัญหาการมีลูกยากที่เกิดจากผู้ชาย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • มีความผิดปกติทางฮอร์โมน
  • มีความผิดปกติทางพันธุกรรม สืบทอดยีนที่มีโรคซิสติกไฟโบรซิส ซึ่งส่งผลไปยังเซลล์อสุจิ
  • เซลล์อสุจิในน้ำเชื้อมีปริมาณน้อยเกินไป
  • เซลล์อสุจิไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถว่ายไปยังรังไข่เพื่อทำการปฏิสนธิ


ปัญหาการมีลูกยากที่เกิดจากผู้หญิง
  • มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • มีความผิดปกติทางฮอร์โมน
  • มีท่อนำไข่ตีบ หรือ ตันทั้งสองข้าง
  • มีภาวะตกไข่ผิดปกติ
  • มีภาวะเยื่อบุมดลูกผิดปกติ และมีพังผืดตรงอุ้งเชิงกราน


asyJh9.png

ควรใช้ระยะเวลานานแค่ไหนก่อนจะไปตรวจภาวะผู้บุตรยาก
การประเมินเบื้องต้นว่าควรเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยากหรือไม่ มีเกณธ์การดูดังนี้

  • สำหรับผู้ที่มีอายุไม่ถึง 35 ปี : มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิด ในระยะ 12 เดือน เเต่ยังไม่มีการปฏิสนธิ
  • สำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป : มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิด ในระยะ 6 เดือน  เเต่ยังไม่มีการปฏิสนธิ


นอกจากนี้สำหรับการเตรียมตัวนั้น ผู้เข้ารับการตรวจต้อง งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากฝ่ายชายนั้นจะประเมินจากการเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ ดังนั้นเพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำที่สุด ควรตรวจจากน้ำเชื้อที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด


การวินิจฉัยของแพทย์
สำหรับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากเเล้ว เเพทย์จะเริ่มด้วยการตรวจร่างกายเบื้องต้นและจะมีการตรวจรายละเอียดต่างๆ เพื่อหาสาเหตุของการมีลูกยากของแแต่ละคน โดยสำหรับฝ่ายชาย และหญิง จะมีรายละเอียดการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากที่ต่างกัน ดังนี้

ประเมินภาวะมีบุตรยากของฝ่ายชาย
  • การตรวจคุณภาพน้ำอสุจิ : อสุจินับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดกระบวนการปฏิสนธิ ดังนั้นการตรวจเช็คทั้งปริมาณและคุณภาพของอสุจิจะสามารถบอกได้ว่าคนๆนั้นมีภาวะมีบุตรยากหรือไม่ โดยก่อนเข้ากระบวนการตรวจน้ำอสุจิ ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการหลั่งประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลประเมินที่ตรงมากที่สุด
  • การตรวจเลือด : ตรวจเพื่อดูว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนหรือไม่ และการตรวจเลือดยังสามารถ เช็คได้ว่าพันธุกรรมของคนๆนั้นสมบูรณ์หรือเปล่า และมีความผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจสอบร่างกาย : อีกสาเหตุที่ทำให้น้ำเชื้อมีน้อย อาจเกิดจากท่ออสุจิมีการอุดตัน ทำให้น้ำเชื้อไม่สามารถหลั่งออกมาในปริมาณปกติที่ควรจะเป็น โดยสามารถดูได้จากการตรวจด้วยการอัลตราซาวด์


ประเมินภาวะมีบุตรยากของฝ่ายหญิง
1.การตรวจประเมินการตกไข่ : เนื่องจากการตกไข่ เป็นขั้นตอนสำคัญในการตั้งครรภ์ ทำให้เราไม่สามารถมองข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ โดยการประเมินจะมีวิธีการแยกย่อยออกมาดังนี้

  • ประจำเดือนมาผิดปกติหรือไม่ : การขาดประจำเดือนของผู้หญิง เป็นสัญญาณว่าร่างกาบไม่มีกระบวนการไข่ตก
  • การตรวจฮอร์โมน : การตรวจฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน โดยระดับของฮอร์โมนชนิดนี้จะขึ้นสูง เมื่อมีการตกไข่

2.การตรวจเลือด : ตรวจเพื่อดูว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนหรือไม่ และการตรวจเลือดยังสามารถ เช็คได้ว่าพันธุกรรมของคนๆนั้นสมบูรณ์หรือเปล่า และมีความผิดปกติหรือไม่


3.การตรวจสอบร่างกาย : การเช็คโครงสร้างของโพรงมดลูก ท่อนำไข่ ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ โดยสามารถทำได้หลายวิธี ยกตัวอย่าง เช่น การตรวจอัลตราซาวด์ และ การส่องผ่านทางกล้อง และสอดเข้าไปทางโพรงมดลูก เพื่อตรวจดูภายใน



ภาวะการมีบุตรยาก วิธีแก้ไข และแนวทางรักษา
จากที่กล่าวไว้ข้างต้น การตรวจภาวะมีบุตรยากนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เพราะสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นมีด้วยกันหลายแบบ ทำให้การตรวจหาสาเหตุต้องมีหลายแบบ เพื่อให้ครอบคลุมตรวจพบทุกปัจจัย การรักษาเองก็เช่นกัน เนื่องจากมีสาเหตุการเกิดจากหลายปัจจัย การรักษาก็ต้องมีหลากหลายเช่นกัน เพื่อให้สามารถตอบโจทย์กับทุกภาวะมีบุตรยากที่จะสามารถเกิดได้ โดยวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก ยอดนิยมที่คนมักเลือกกัน ก็จะมีดังนี้

วิธีที่ 1 : IUI
IUI (Intra-Uterine Insemination) คือการผสมเทียมที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับการปฏิสนธิตามธรรมชาติมากที่สุด โดยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปยังโพรงมดลูก เพื่อย่นระยะทางการว่ายของอสุจิไปยังเซลล์ไข่ ซึ่งเพิ่มโอกาสสำเร็จได้ 10 - 15% IUI ช่วยให้คนสามารถเข้าถึงวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก เพราะค่าใช้จ่ายในการรักษามีราคาที่ไม่แพงมาก

วิธีที่ 2 : การทำเด็กหลอดแก้ว
การทำเด็กหลอดแก้ว เป็น การปฏิสนธิภายนอกร่างกายโดยจะนำเซลล์ไข่จากฝ่ายหญิงและเซลล์อสุจิของฝ่ายชายที่ผ่านการคัดมาแล้ว มาทำให้เกิดการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการพิเศษ โดยการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว จะช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จได้ 70 - 80% แต่แลกมากับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก
โดยการทำเด็กหลอดแก้วจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

IVF (In-vitro Fertilization)
จะนำเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิมาผสมกันโดยปล่อยให้อสุจิทำการปฏิสนธิกับไข่เองตามธรรมชาติ หรือ ก็คือยังคงเก็บขั้นตอนที่ให้อสุจิว่ายเข้าไปในไข่เองอยู่

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)
จะคัดเลือกเซลล์อสุจิที่แข็งแรงที่สุดและฉีดเข้าไปยังไข่โดยตรง ซึ่งจะตัดกระบวนการที่อสุจิจะว่ายเข้าไปในรังไข่ออก หรือก็คือ ICSI เป็น IVF ที่มีการ พัฒนาเพิ่มทั้งสองวิธีนั้นมีหลักการในการรักษาเหมือนกัน เเต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ที่ขั้นตอนในการปฏิสนธิ IVF จะรอให้เซลล์อสุจิว่ายเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ แต่ ICSI จะคัดเลือกเซลล์อสุจิ และฉีกเข้าไปยังเซลล์ไข่โดยตรง

นอกจากนี้เเล้วการรักษาภาวะมีบุตรยาก ยังมีวิธีอื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็นการฝากไข่ หรือการทำกิ๊ฟท์ ซึ่งจะเลือกวิธีไหนนั้น เเพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการของเราว่าหนักแค่ไหน และจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับเราที่สุด

asFtLE.png
สรุป
ยังมีอีกหลายครอบครัวที่อยากมีลูก และมีความพร้อมในการเลี้ยงลูก อย่าให้ภาวะมีบุตรยากมาขัดขวางได้ เพราะปัจจุบันไม่เพียงประเทศไทย แต่นานาประเทศกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนประชากร ส่งผลในหลายๆภาคส่วน

การที่คนรุ่นใหม่ มีเเนวคิดในการสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนไป ไม่อยากมีลูก ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่หากว่าคนที่อยากมีลูกกลับมีไม่ได้อีก อัตราการเกิดก็จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบไปยังอนาคต ดังนั้นหากอยากจะมีลูก และมีความพร้อมที่จะเลี้ยงเขาให้ดี อย่ารีรอที่จะเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยาก หากคิดว่าตนมีความเสี่ยง ยิ่งรู้ตัวไว ก็จะยิ่งรักษาได้ไว เพราะอายุที่มากขึ้นจะทำให้ภาวะมีบุตรยากรักษายากยิ่งขึ้น




Dew
เช็คอินสะสม: 4738 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

โพสต์ 2022-9-20 18:13:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP