ดู: 290|ตอบกลับ: 2

ภาวะมีบุตรยาก ภาวะความผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 77%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
ภาวะมีบุตรยาก ภาวะความผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้
ในปัจจุบันชีวิตแต่งงานสำหรับคนสมัยใหม่ มีนิยามที่เปลี่ยนไป การแต่งงานไม่จำเป็นที่จะต้องมีลูก แต่ก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่อยากมีลูกเป็นของตัวเอง แต่ไม่สามารถมีได้ ซึ่งอุปสรรคใหญ่เลย ก็คือ ภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติ จนไม่สามารถทำการตั้งครรภ์ได้ตามปกติ หรือเรียกว่า ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยากสามารถพบได้ทั้งชาย และหญิง และปัจจัยที่ทำให้เป็นภาวะมีบุตรยาก จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นภาวะมีบุตรยากเป็นสิ่งที่ควรหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุด เพราะหากยิ่งปล่อยให้นานวัน โอกาสสำหรับคนที่อยากมีลูกก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เราจะมาหาคำตอบกันว่า ภาะวะบุตยาก คืออะไร และสามารถรักษา หรือแก้ไขอย่างไรได้บ้าง
G7W_nidOXKVe018z3RtWf2uG22-JlgdXq9L1sfHCurjU-3pb8qRJaRDYtLp0SrSEKiFGO3jNjdVYyX61ih6XoYU0As7n98keqZCAkMJvJ986e0b96IdgWHR4OtgPv2z_MkZxDTnsF8aaTd2zUaE1Gz7GrdLrVtpMvxKKYVZzsUjD3e6lKJrsA23mmA ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร ?
ภาวะมีลูกยา่ก (Infertility) คือภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ตาม
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีลูกยากนั้น ก็มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ซึ่งจากการประเมิเบื้องต้นของเเพทย์ ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี และคู่ที่มีเพศสัมพันธ์มาแล้วมากกว่า 1 ปี แต่ยังไม่มีสัญญาณของการปฏิสนธิ แพทย์จะวินิจัยว่าเป็นผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก

6pFz5PDxeZhPQpK99t7g1Ny2uPuO413DH_eVr6AFW_N5X1wxa9DnWmvkCdr2zKfR6K0bvyaGxK7nrBLRP8FqfNAaPdsHTDDARP6KEjhOKLc96ogeGpH8YhPSkjyoZQ1kLGTJsIPqZaOocYZvnJ2rwIa4wnr8fqPUD8ZwdO34A76BTs7jZNeWiS3lvQ
ภาวะมีบุตรยากถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปไหม ?
ภาวะมีบุตรยากนั้นเป็นปัญหาที่สามารถพบได้ทั่วไป ในประเทศไทยมีข้อมูลตัวเลขระบุว่า มีผู้ที่ประสบปัญหาการมีลูกยาก สูงถึง 12 ล้านคน ด้วยตัวเลขที่สูงขนาดนี้จึงพูดได้ว่า ภาวะมีบุตรยากนั้นสามารถพบได้ทั่วไป แต่การรักษานั้นสามารถทำได้ เพื่อให้สามารถหาวิธีการรักษาได้่ตรงจุด เราต้องการก่อนว่าสาเหตุภาวะมีบุตรยากของเรานั้น คืออะไร
สาเหตุภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร
จากที่กล่าวไว้ข้างต้น สาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นเกิดได้หลายปัจจัย มีทั้งจากเพศชาย และเพศหญิง ซึ่งเราจะสามารถรู้สาเหตุภาวะมีบุตรยากของเราผ่านจากการตรวจประเมินของเเพทย์ ซึ่งสาเหตุการมีลูกยากของทั้งชาย และหญิง จะมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้
ปัญหาการมีลูกยากที่เกิดจากผู้ชาย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • มีความผิดปกติทางฮอร์โมน
  • มีความผิดปกติทางพันธุกรรม สืบทอดยีนที่มีโรคซิสติกไฟโบรซิส ซึ่งส่งผลไปยังเซลล์อสุจิ
  • เซลล์อสุจิในน้ำเชื้อมีปริมาณน้อยเกินไป
  • เซลล์อสุจิไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถว่ายไปยังรังไข่เพื่อทำการปฏิสนธิ


ปัญหาการมีลูกยากที่เกิดจากผู้หญิง
  • มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • มีความผิดปกติทางฮอร์โมน
  • มีท่อนำไข่ตีบ หรือ ตันทั้งสองข้าง
  • มีภาวะตกไข่ผิดปกติ
  • มีภาวะเยื่อบุมดลูกผิดปกติ และมีพังผืดตรงอุ้งเชิงกราน

xI0ipiY9XIVpza9MsTZ9BuXU8VkZajg5yHVkQH9IXP1_Tc9yYlK0EMO-lO7JgCmbJiJU0co1o_AaO97x5MTezysxeOrqYXcCmsvyfxWjsPDloN49zbwJ96Rv7sFVztx2LdneyXzr8oxPHaWro4OayWDg9MGJCI8T24a9KgGK0tZ-hnc3x9AULpYUTQ

ควรใช้ระยะเวลานานแค่ไหนก่อนจะไปตรวจภาวะผู้บุตรยาก
การประเมินเบื้องต้นว่าควรเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยากหรือไม่ มีเกณธ์การดูดังนี้

  • สำหรับผู้ที่มีอายุไม่ถึง 35 ปี : มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิด ในระยะ 12 เดือน เเต่ยังไม่มีการปฏิสนธิ
  • สำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป : มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิด ในระยะ 6 เดือน  เเต่ยังไม่มีการปฏิสนธิ


นอกจากนี้สำหรับการเตรียมตัวนั้น ผู้เข้ารับการตรวจต้อง งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากฝ่ายชายนั้นจะประเมินจากการเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ ดังนั้นเพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำที่สุด ควรตรวจจากน้ำเชื้อที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด
การวินิจฉัยของแพทย์
สำหรับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากเเล้ว เเพทย์จะเริ่มด้วยการตรวจร่างกายเบื้องต้นและจะมีการตรวจรายละเอียดต่างๆ เพื่อหาสาเหตุของการมีลูกยากของแแต่ละคน โดยสำหรับฝ่ายชาย และหญิง จะมีรายละเอียดการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากที่ต่างกัน ดังนี้
ประเมินภาวะมีบุตรยากของฝ่ายชาย
  • การตรวจคุณภาพน้ำอสุจิ : อสุจินับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดกระบวนการปฏิสนธิ ดังนั้นการตรวจเช็คทั้งปริมาณและคุณภาพของอสุจิจะสามารถบอกได้ว่าคนๆนั้นมีภาวะมีบุตรยากหรือไม่ โดยก่อนเข้ากระบวนการตรวจน้ำอสุจิ ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการหลั่งประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลประเมินที่ตรงมากที่สุด
  • การตรวจเลือด : ตรวจเพื่อดูว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนหรือไม่ และการตรวจเลือดยังสามารถ เช็คได้ว่าพันธุกรรมของคนๆนั้นสมบูรณ์หรือเปล่า และมีความผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจสอบร่างกาย : อีกสาเหตุที่ทำให้น้ำเชื้อมีน้อย อาจเกิดจากท่ออสุจิมีการอุดตัน ทำให้น้ำเชื้อไม่สามารถหลั่งออกมาในปริมาณปกติที่ควรจะเป็น โดยสามารถดูได้จากการตรวจด้วยการอัลตราซาวด์

ประเมินภาวะมีบุตรยากของฝ่ายหญิง
  • การตรวจประเมินการตกไข่ : เนื่องจากการตกไข่ เป็นขั้นตอนสำคัญในการตั้งครรภ์ ทำให้เราไม่สามารถมองข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ โดยการประเมินจะมีวิธีการแยกย่อยออกมาดังนี้

  • ประจำเดือนมาผิดปกติหรือไม่ : การขาดประจำเดือนของผู้หญิง เป็นสัญญาณว่าร่างกาบไม่มีกระบวนการไข่ตก
  • การตรวจฮอร์โมน : การตรวจฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน โดยระดับของฮอร์โมนชนิดนี้จะขึ้นสูง เมื่อมีการตกไข่

  • การตรวจเลือด : ตรวจเพื่อดูว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนหรือไม่ และการตรวจเลือดยังสามารถ เช็คได้ว่าพันธุกรรมของคนๆนั้นสมบูรณ์หรือเปล่า และมีความผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจสอบร่างกาย : การเช็คโครงสร้างของโพรงมดลูก ท่อนำไข่ ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ โดยสามารถทำได้หลายวิธี ยกตัวอย่าง เช่น การตรวจอัลตราซาวด์ และ การส่องผ่านทางกล้อง และสอดเข้าไปทางโพรงมดลูก เพื่อตรวจดูภายใน


ภาวะการมีบุตรยาก วิธีแก้ไข และแนวทางรักษา
จากที่กล่าวไว้ข้างต้น การตรวจภาวะมีบุตรยากนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เพราะสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นมีด้วยกันหลายแบบ ทำให้การตรวจหาสาเหตุต้องมีหลายแบบ เพื่อให้ครอบคลุมตรวจพบทุกปัจจัย

การรักษาเองก็เช่นกัน เนื่องจากมีสาเหตุการเกิดจากหลายปัจจัย การรักษาก็ต้องมีหลากหลายเช่นกัน เพื่อให้สามารถตอบโจทย์กับทุกภาวะมีบุตรยากที่จะสามารถเกิดได้ โดยวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก ยอดนิยมที่คนมักเลือกกัน ก็จะมีดังนี้
วิธีที่ 1 : IUI
IUI (Intra-Uterine Insemination) คือการผสมเทียมที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับการปฏิสนธิตามธรรมชาติมากที่สุด โดยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปยังโพรงมดลูก เพื่อย่นระยะทางการว่ายของอสุจิไปยังเซลล์ไข่ ซึ่งเพิ่มโอกาสสำเร็จได้ 10 - 15% IUI ช่วยให้คนสามารถเข้าถึงวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก เพราะค่าใช้จ่ายในการรักษามีราคาที่ไม่แพงมาก

วิธีที่ 2 : การทำเด็กหลอดแก้ว
การทำเด็กหลอดแก้ว เป็น การปฏิสนธิภายนอกร่างกายโดยจะนำเซลล์ไข่จากฝ่ายหญิงและเซลล์อสุจิของฝ่ายชายที่ผ่านการคัดมาแล้ว มาทำให้เกิดการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการพิเศษ โดยการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว จะช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จได้ 70 - 80% แต่แลกมากับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก
โดยการทำเด็กหลอดแก้วจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

IVF (In-vitro Fertilization)
จะนำเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิมาผสมกันโดยปล่อยให้อสุจิทำการปฏิสนธิกับไข่เองตามธรรมชาติ หรือ ก็คือยังคงเก็บขั้นตอนที่ให้อสุจิว่ายเข้าไปในไข่เองอยู่

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)
จะคัดเลือกเซลล์อสุจิที่แข็งแรงที่สุดและฉีดเข้าไปยังไข่โดยตรง ซึ่งจะตัดกระบวนการที่อสุจิจะว่ายเข้าไปในรังไข่ออก หรือก็คือ ICSI เป็น IVF ที่มีการ พัฒนาเพิ่ม

ทั้งสองวิธีนั้นมีหลักการในการรักษาเหมือนกัน เเต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ที่ขั้นตอนในการปฏิสนธิ IVF จะรอให้เซลล์อสุจิว่ายเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ แต่ ICSI จะคัดเลือกเซลล์อสุจิ และฉีกเข้าไปยังเซลล์ไข่โดยตรง

นอกจากนี้เเล้วการรักษาภาวะมีบุตรยาก ยังมีวิธีอื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็นการฝากไข่ หรือการทำกิ๊ฟท์ ซึ่งจะเลือกวิธีไหนนั้น เเพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการของเราว่าหนักแค่ไหน และจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับเราที่สุด

1f9acTQKY5AKGzs4-Pq9xVsxv0eGK3kkTJSco0Ly3e6tg4u8x4kOnqGsqMLDKZlDJiUiC_GT7GOE4S36_skCV7-Qaa7rGpZ68Xwe3Jeq_OWcD19ALTEQGvA9eWwKK0lGRW4KIjyM8SH7UTCZTpXkCzAH33uFit3NO-0y4WulhA1VOZFdgnG2Q47Qxg
สรุป
ยังมีอีกหลายครอบครัวที่อยากมีลูก และมีความพร้อมในการเลี้ยงลูก อย่าให้ภาวะมีบุตรยากมาขัดขวางได้ เพราะปัจจุบันไม่เพียงประเทศไทย แต่นานาประเทศกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนประชากร ส่งผลในหลายๆภาคส่วน

การที่คนรุ่นใหม่ มีเเนวคิดในการสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนไป ไม่อยากมีลูก ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่หากว่าคนที่อยากมีลูกกลับมีไม่ได้อีก อัตราการเกิดก็จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบไปยังอนาคต ดังนั้นหากอยากจะมีลูก และมีความพร้อมที่จะเลี้ยงเขาให้ดี อย่ารีรอที่จะเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยาก หากคิดว่าตนมีความเสี่ยง ยิ่งรู้ตัวไว ก็จะยิ่งรักษาได้ไว เพราะอายุที่มากขึ้นจะทำให้ภาวะมีบุตรยากรักษายากยิ่งขึ้น


Dew
เช็คอินสะสม: 4680 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 21 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2022-9-16 16:44:39 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.
เช็คอินสะสม: 52 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 4 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 33%

โพสต์ 2022-12-16 07:06:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP