เช็คอินสะสม: 135 วัน เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 100%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
คนไทยนิยมใช้รถไฟกันแค่ไหน? March 29, 2013
หลังจากได้พูดกันไปถึงเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟทั้งในลักษณะของตัวราง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ไปแล้ว ข้อมูลอีกหนึ่งชุดที่สามารถบอกถึงสภาพปัจจุบันของการรถไฟในแต่ละประเทศได้ดีก็คือความนิยมในการใช้บริการรถไฟในแต่ละประเทศ
แน่นอนว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ย่อมสอดคล้องกับระดับความนิยมของประชาชน หากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอหรือยังคงใช้เทคโนโลยีที่ล้าหลัง ย่อมไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่รถไฟจะได้รับความนิยมน้อย อย่างไรก็ตาม เราควรพึงระลึกเสมอว่า “Correlation does not imply causation” นั่นคือในทางกลับกัน การไม่ได้รับความนิยมอย่างมากพอ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่มีการพัฒนาก็เป็นได้
ตัวเลขที่สามารถบอกถึงความนิยมในการโดยสารรถไฟได้ดีคือระยะทางโดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยประชากร[1] พบว่าในแต่ละประเทศมีข้อมูลดังนี้
USA – 80 km
Russia – 1220 km
Japan – 1995 km
China – 653 km
Germany – 910 km
South Korea – 650 km
India – 777 km
Thailand – 150 km (เทียบเท่าไปกลับกรุงเทพ-อยุธยา)
หากเรารวมข้อมูลจากบทความ “รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?” ทั้งสามตอนเข้าไว้ด้วยกันแล้ว จะได้ดังนี้
Railway Statistics
Railway length: narrow guage (electrified) (km)Railway length: standard guage (electrified) (km)m track per Area (km^2)km track per million populationPassenger-km/capita of railway transport per yearMax speed (km/h)
USA0224,7922372580240
Russia95786,200 (40,300)78951,220250
Japan22,445 (15,366)4,737 (4,737)621831,995240-300
China086,000 (36,000)1068653300 (431 for Shanghai Maglev Train)
Germany259 (99)41,722 (20,053)105512910330
South Korea03,381 (1,843)4069650305
India9,71754,257 (18,927)2053777150
Malaysia1,792 (150)57 (57)559N/A160
Thailand4,04229 (29)96615090-100ความนิยมใช้บริการรถไฟอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปมากด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เมื่อรถยนต์ส่วนบุคคลสามารถผลิตได้ง่ายขึ้น ขนาดเล็กลง และจำนวนมากขึ้น ผู้คนจำนวนหนึ่งอาจหันไปใช้รถยนต์ส่วนบุคคลกันมากขึ้น ดังเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีปริมาณรางรถไฟต่อหน่วยพื้นที่และประชากรสูง แต่กลับมีการใช้บริการรถไฟที่ต่ำ ซึ่งเป็นไปได้เพราะว่ารถไฟส่วนมากนั้นใช้ในการขนส่งสินค้า ผู้คนในสหรัฐฯอาจให้ความนิยมต่อการโดยสารทางรถยนต์มากกว่า (ซึ่งสามารถยืนยันได้โดยจำนวนรถยนต์ต่อหน่วยประชากรของสหรัฐที่สูง[2] หรือพูดกันง่ายๆก็คือคนอเมริกันนิยมใช้รถยนต์หรือเดินทางทางอากาศมากกว่าเดินทางโดยรถไฟ)
แต่ในขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนในประเทศที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์หลักหลายๆประเทศกลับยังให้ความนิยมต่อการเดินทางโดยรถไฟอย่างมาก เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี หรือเกาหลีใต้ โดยประเทศที่รถไฟเป็นที่นิยมมากที่สุดคือญี่ปุ่น ที่มีทั้งความยาวรางรถไฟที่มาก ผู้คนโดยสารรถไฟมากที่สุดในโลก และระบบรถไฟที่ก้าวหน้าเป็นอันดับต้นๆของโลก ตั้งแต่รถไฟชิงกันเซนความเร็วสูงที่ตรงต่อเวลาและมาถี่ ตำแหน่งสถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและศูนย์เศรษฐกิจ สภาพภายในรถไฟที่โอ่โถง สะอาด สะดวกสบาย และระบบรถไฟส่วนภูมิภาคและรถไฟใต้ดินที่สามารถนั่งต่อไปได้แทบจะทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่ ปัจจัยเหล่านี้เมื่อประกอบกับพื้นที่ในเมืองที่แออัดน่าจะทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเลือกที่จะไม่รับภาระในการมีรถยนต์ส่วนบุคคลและเลิกที่จะใช้บริการระบบรถสาธารณะเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่นๆที่นิยมการเดินทางโดยรถไฟเช่น รัสเซีย ที่มีรถไฟสายทรานไซบีเรีย ประเทศเยอรมนี และประเทศจีนที่มีแม้กระทั่งรถไฟยกตัวแบบ maglev เชิงพาณิชย์เป็นประเทศแรกของโลก[3]
ส่วนความนิยมโดยสารรถไฟของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ท่านผู้อ่านอาจจะลองถามตัวเองดูง่ายๆได้ว่าท่านใช้บริการรถไฟไทยบ่อยแค่ไหน? และครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?
เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศที่มีความนิยมในการโดยสารทางรถไฟมากมักจะมีการพัฒนาทางการรถไฟที่ค่อนข้างดีและสะดวกสบาย อาจกล่าวได้ว่าการที่คนไม่นิยมโดยสารรถไฟเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการพัฒนาของรถไฟไทย หากไม่มีผู้โดยสารแล้วก็ย่อมเป็นการยากที่จะมีเงินไปลงทุนเพื่อพัฒนาต่อไป แต่ในทางกลับกันก็สามารถพูดได้เช่นกันว่าการที่ไม่มีการพัฒนาและความไม่สะดวกสบายของการโดยสารโดยรถไฟอาจจะเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมจึงไม่มีคนนิยมโดยสารทางรถไฟกันเลย
สำหรับประเทศไทยนั้น หากเราลองเทียบดูกับความนิยมในการใช้รถไฟฟ้า MRT และ BTS ในกทม. ซึ่งเมื่อสิบกว่าปีก่อนหน้านี้ไม่เคยมีเลย อาจจะสามารถตอบได้ว่า จริงๆแล้วคนไทยพร้อมกับการหันไปใช้เทคโนโลยีในการโดยสารที่รวดเร็วและสะดวกสบายแค่ไหน
อ้างอิงข้อมูล: [1] http://en.wikipedia.org/wiki/Rail_usage_statistics_by_country
|
|